วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระนางพญาพิมพ์เทวดา

“พระนางพญาพิมพ์เทวดา”

 หรืออีกชื่อหนึ่งที่บรรดาเซียนพระยุคเก่าเรียกหาก็คือ “พิมพ์อกแฟบ” เนื่องจากด้านหน้าองค์พระตรงบริเวณ พระอุระ (อก) มีลักษณะ แฟบ หรือ แบนราบ บรรดาเซียนพระยุคเก่าจึงเรียกไปตามลักษณะขององค์พระ แต่ต่อมาเซียนพระยุคหลังอาจจะเห็นชื่อ “พิมพ์อกแฟบ” ไม่ค่อยเหมาะสมกับความ อลังการ ของ “ยอด พระกรุเนื้อดิน” แห่ง เมืองพิษณุโลกพิมพ์นี้จึงเรียกหากันใหม่ว่า “พิมพ์เทวดา”
 
เนื่องจาก พุทธลักษณะของ   “พิมพ์เทวดา” ตรงบริเวณ “เส้นครอบพระเศียร” (ศีรษะ) และ “พระกรรณ” (หู) ที่เชื่อมต่อเนื่องกันเป็นเส้นเรียวยาวอ่อนช้อยสวยงาม ลงไปจรด พระอังสา (ไหล่) จึงทำให้มีลักษณะคล้ายกับเป็น “เครื่องทรงเทวดา” จึงหันมาเรียกว่า “พิมพ์เทวดา” แทนซึ่งนักสะสมส่วนใหญ่ก็เห็นพ้องต้องกัน ปัจจุบันจึงนิยมเรียกกันว่า “พิมพ์เทวดา” แทน “พิมพ์อกแฟบ” เพราะนอกจากชื่อมีความเป็นมงคลกว่าแล้ว การเรียกชื่อพิมพ์ยังเหมาะสมกว่าอีกด้วย
 
ส่วนรายละเอียดพิมพ์ทรงของ “พระ  นางพญาพิมพ์เทวดา” มีพุทธลักษณะที่คล้าย  กับ “พิมพ์สังฆาฏิ” คือตรงบริเวณ พระพักตร์ (หน้า) จะมีลักษณะแบบเดียวกัน ส่วนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือการ “ตัดขอบองค์พระ” โดย “พิมพ์สังฆาฏิ” ส่วนใหญ่จะตัดขอบในลักษณะเป็นรูป “สามเหลี่ยมด้านเท่า” แต่ “พิมพ์ เทวดา” จะตัดขอบในลักษณะเป็น “สามเหลี่ยมหน้าจั่ว”
 
และเพราะการตัดขอบที่แตกต่างกันนี้เองจึงทำให้ “พิมพ์เทวดา” มองดูแล้วจะสูงชะลูดกว่า “พิมพ์สังฆาฏิ” นอกจากนี้ตรงบริเวณ “เส้นสังฆาฏิ” ในองค์ “พิมพ์สังฆาฏิ” จะปรากฏเส้นสังฆาฏิหนาใหญ่ ส่วน “พิมพ์เทวดา” จะมีลักษณะที่ แฟบหรือแบนราบ จึงเป็นการแยกแยะพิมพ์พระทั้งสองพิมพ์นี้ได้ง่าย ที่พอจะชี้

จุดสังเกตได้ดังนี้
๑. การตัดขอบพระทั้งสามด้าน ส่วน  ใหญ่จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
๒. พระเกศ (ผม) จะคล้ายกับ ปลีกล้วยเช่นเดียว กันกับพิมพ์สังฆาฏิ
๓. เส้นครอบ พระเศียร (ศีรษะ) จะเป็นเส้นต่อเนื่อง จรดพระกรรณ (หู) และยาวจรด พระอังสา (ไหล่) ทั้งสองข้าง
๔. เส้นพระ กรรณ (หู) มีลักษณะเป็นเส้นเล็กเรียวกว่า พิมพ์สังฆาฏิ และเส้น พระกรรณด้านซ้าย องค์พระจะเป็นเส้นเรียวเล็กกว่าด้านขวา
๕. เส้นสังฆาฏิด้านบน จะเลยทะลุ พระอังสา (ไหล่) ด้านซ้ายองค์พระ ส่วนปลาย เส้นสังฆาฏิด้านล่าง จะโค้งงอพองาม
๖. พระอุระ (อก) จะมีลักษณะแฟบหรือแบนราบกว่า พิมพ์สังฆาฏิ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ที่เรียกในอดีตว่า พิมพ์อกแฟบ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น