วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก

พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก

 “พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก” จัดเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมอันดับสุดท้ายของยอด “พระกรุเนื้อดิน” แห่งตระกูล “พระนางพญา” จากเมืองพิษณุโลกที่ตามตำนานระบุว่า “พระวิสุทธิกษัตรี” (พระมารดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ทรงสร้างขึ้นแต่ถึงกระนั้นหากองค์ใดที่มีสภาพ    “สวยสมบูรณ์” และ “พิมพ์ติดชัด” อย่างองค์ที่นำมาชี้จุดสังเกตนี้แล้วก็ต้องใช้เงิน “หลายแสน” จึงมีสิทธิได้ครอบครองเนื่องจากเป็นพิมพ์ที่พบเห็นน้อยมากเรียกว่าในขบวน “พระนางพญา” ที่ถือกำเนิดจาก “กรุวัดนางพญา” ด้วย กันแล้ว “พิมพ์อกนูนเล็ก” พิมพ์นี้มีการพบเห็นน้อยกว่าพิมพ์อื่น ๆ
 
ส่วนเหตุที่เรียกว่า “พิมพ์อกนูนเล็ก” ก็เป็นเพราะพุทธลักษณะของพระพิมพ์นี้   นอกจากบริเวณ “พระอุระ” (อก) จะนูนหนาแล้วยังมีขนาดที่เล็กกว่า “พิมพ์อกนูนใหญ่” ส่วน “พระเศียร” (ศีรษะ) มีลักษณะที่ใหญ่กว่า “พิมพ์สังฆาฏิ” และ “พิมพ์เทวดา” และเพราะเนื้อบริเวณ “พระอุระ” มีความ นูนสูงนี่เองจึงทำให้การแกะแม่พิมพ์ตรง      “เส้นสังฆาฏิ” ค่อนข้างแผ่วบางตื้นอีกทั้ง  เมื่อ “พระอุระ” มีความนูนเด่นนายช่างที่แกะแม่พิมพ์จึงต้องแกะพิมพ์ให้ “พระกร” (แขน) ทั้งสองข้างล่ำหนาใหญ่ตามไปด้วย
 
ทางด้านการตัดขอบองค์พระก็มีลักษณะเป็น “รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว” เฉกเช่น “พิมพ์เทวดา” เพียงแต่ขนาดความสูงขององค์พระต่ำกว่า “พิมพ์เทวดา” เล็กน้อย   โดยนายช่างที่แกะแม่พิมพ์ได้ทำการสร้าง สรรค์ ให้องค์พระมีขนาดความหนามากกว่า    “สังฆาฏิ” และ “พิมพ์เทวดา” จึงทำให้สามารถแยกแยะพระทั้ง “๓ พิมพ์” นี้ได้อย่างชัดเจนส่วนรายละเอียดของการชี้จุดสังเกตก็แยกแยะได้ดังนี้
 
๑. พระเกศ (ผม) มีลักษณะเหมือน ทรงกระบอก
๒. พระพักตร์ (หน้า) นูนเด่นใหญ่กว่า พิมพ์สังฆาฏิ และ พิมพ์เทวดา
๓. พระกรรณ (หู) ด้านซ้ายองค์พระ   จะยาวเฉียงและ แนบ พระพักตร์ (หน้า) มากกว่า พระกรรณ (หู) ด้านซ้ายที่ยาวเชื่อมต่อกับ เส้นจีวร
๔. เส้นสังฆาฏิ ตรงบริเวณ พระอังสาซ้าย (ไหล่ซ้าย) จะยาวเลยไหล่ซ้าย
๕. เนื้อบริเวณพระอุระ (อก) นูนหนาจึงทำให้ เส้นสังฆาฏิ แผ่วบางตื้นกว่า พิมพ์สังฆาฏิ
๖. พระกร (แขน) ทั้งสองข้างและ ความหนา ขององค์พระจะหนาใหญ่กว่า พิมพ์สังฆาฏิ และ พิมพ์เทวดา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น