วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ขนาด พระ นางพญา

ขนาดพระนางพญา



1. พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง มีอยู่ ๒ ขนาดคือ ๑ ขนาดใหญ่ฐานกว้าง ๒.๕ ซ.ม สูง ๓.๕ ซ.ม.

2. ขนาดย่อมฐานกว้าง ๑.๙ ซ.ม. สูง ๒.๘ ซ.ม. กรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
ขนาดใหญ่ส่วนมากจะตัดเหลือปลีกไว้เล็กน้อย ส่วนขนาดย่อมตัดชิดองค์พระส่วนมากยอดกรอบเอียงไปทางขวา
พระเกศ คล้ายปิ่นปักผม
พระศอ เรียวลากผ่านพระกรรณ
พระกรรณ เส้นพระศอลากผ่านจรดพระอังสาเหนือเส้นสังฆาฏิ
พระพักตร์ คล้ายผลมะตูม ไม่เห็นหน้าตา พระศอ มีเส้นบางๆ ๒ เส้นมาจรดพระอังสาทั้งสอง เฉพาะเส้นพระศอซ้ายจรดเส้นชายพระสังฆาฏิเส้นเล็ก
พระพาหา ทั้งซ้ายและขวากลางออกไปเล็กน้อย
พระเพลา ลักษณะเป็นท้องกะทะ
พระชานุ ยกโค้งเล็กน้อยสมกับที่เรียกกันว่าพระนางพญาเข่าโค้ง
พระชงฆ์ ซ้อนกันต่อเส้นบนและเส้นล่างเป็นต้น

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระนางพญา มี ๗ พิมพ์

พระนางพญา มี ๗ พิมพ์ ด้วยกัน คือ พระนางพญาพิษณุโลก
มาชมความงดงามของแต่ละพิมพ์กันจ้า
1. พิมพ์เข่าโค้ง















2. พิมพ์เข่าตรง















3. พิมพ์เข่าตรง ( มือตกเข่า)


4.พิมพ์อกนูนใหญ่

5. พิมพ์สังฆาฏิ

6.พิมพ์อกนูนเล็ก

7.พิมพ์อกแฟบ ( พิมพ์เทวดา)




























พระนางพญา พุทธคุณ


พระนางพญายังมีอีกหลายพิมพ์ด้วยกัน เช่นพิมพ์เข่าตรง พิมพ์อกนูนเล็ก อกนูนใหญ่ พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ทรงเทวดา

พุทธคุณและอภินิหาร นั้นได้ปรากฏมาหลายศตวรรษแล้วจนตราบเท่าทุกวันนี้ มีทั้งเมตตามหานิยมแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระนางพญาพิมพ์เทวดา

“พระนางพญาพิมพ์เทวดา”

 หรืออีกชื่อหนึ่งที่บรรดาเซียนพระยุคเก่าเรียกหาก็คือ “พิมพ์อกแฟบ” เนื่องจากด้านหน้าองค์พระตรงบริเวณ พระอุระ (อก) มีลักษณะ แฟบ หรือ แบนราบ บรรดาเซียนพระยุคเก่าจึงเรียกไปตามลักษณะขององค์พระ แต่ต่อมาเซียนพระยุคหลังอาจจะเห็นชื่อ “พิมพ์อกแฟบ” ไม่ค่อยเหมาะสมกับความ อลังการ ของ “ยอด พระกรุเนื้อดิน” แห่ง เมืองพิษณุโลกพิมพ์นี้จึงเรียกหากันใหม่ว่า “พิมพ์เทวดา”
 
เนื่องจาก พุทธลักษณะของ   “พิมพ์เทวดา” ตรงบริเวณ “เส้นครอบพระเศียร” (ศีรษะ) และ “พระกรรณ” (หู) ที่เชื่อมต่อเนื่องกันเป็นเส้นเรียวยาวอ่อนช้อยสวยงาม ลงไปจรด พระอังสา (ไหล่) จึงทำให้มีลักษณะคล้ายกับเป็น “เครื่องทรงเทวดา” จึงหันมาเรียกว่า “พิมพ์เทวดา” แทนซึ่งนักสะสมส่วนใหญ่ก็เห็นพ้องต้องกัน ปัจจุบันจึงนิยมเรียกกันว่า “พิมพ์เทวดา” แทน “พิมพ์อกแฟบ” เพราะนอกจากชื่อมีความเป็นมงคลกว่าแล้ว การเรียกชื่อพิมพ์ยังเหมาะสมกว่าอีกด้วย
 
ส่วนรายละเอียดพิมพ์ทรงของ “พระ  นางพญาพิมพ์เทวดา” มีพุทธลักษณะที่คล้าย  กับ “พิมพ์สังฆาฏิ” คือตรงบริเวณ พระพักตร์ (หน้า) จะมีลักษณะแบบเดียวกัน ส่วนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือการ “ตัดขอบองค์พระ” โดย “พิมพ์สังฆาฏิ” ส่วนใหญ่จะตัดขอบในลักษณะเป็นรูป “สามเหลี่ยมด้านเท่า” แต่ “พิมพ์ เทวดา” จะตัดขอบในลักษณะเป็น “สามเหลี่ยมหน้าจั่ว”
 
และเพราะการตัดขอบที่แตกต่างกันนี้เองจึงทำให้ “พิมพ์เทวดา” มองดูแล้วจะสูงชะลูดกว่า “พิมพ์สังฆาฏิ” นอกจากนี้ตรงบริเวณ “เส้นสังฆาฏิ” ในองค์ “พิมพ์สังฆาฏิ” จะปรากฏเส้นสังฆาฏิหนาใหญ่ ส่วน “พิมพ์เทวดา” จะมีลักษณะที่ แฟบหรือแบนราบ จึงเป็นการแยกแยะพิมพ์พระทั้งสองพิมพ์นี้ได้ง่าย ที่พอจะชี้

จุดสังเกตได้ดังนี้
๑. การตัดขอบพระทั้งสามด้าน ส่วน  ใหญ่จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
๒. พระเกศ (ผม) จะคล้ายกับ ปลีกล้วยเช่นเดียว กันกับพิมพ์สังฆาฏิ
๓. เส้นครอบ พระเศียร (ศีรษะ) จะเป็นเส้นต่อเนื่อง จรดพระกรรณ (หู) และยาวจรด พระอังสา (ไหล่) ทั้งสองข้าง
๔. เส้นพระ กรรณ (หู) มีลักษณะเป็นเส้นเล็กเรียวกว่า พิมพ์สังฆาฏิ และเส้น พระกรรณด้านซ้าย องค์พระจะเป็นเส้นเรียวเล็กกว่าด้านขวา
๕. เส้นสังฆาฏิด้านบน จะเลยทะลุ พระอังสา (ไหล่) ด้านซ้ายองค์พระ ส่วนปลาย เส้นสังฆาฏิด้านล่าง จะโค้งงอพองาม
๖. พระอุระ (อก) จะมีลักษณะแฟบหรือแบนราบกว่า พิมพ์สังฆาฏิ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ที่เรียกในอดีตว่า พิมพ์อกแฟบ.

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตำหนิพระนางพญา

ตำหนิพระนางพญา พระนางพญาพิษณุโลก
1. พระเกศเหมือนปลีกล้วย
2. ปรากฏกระจังหน้าชัดเจน
3. หน้าผากด้านขวาขององค์พระจะยุบหรือบุบน้อยกว่าหน้าผากด้านซ้ายขององค์พระ
4. ปลายหูด้านซ้ายมือขององค์พระ จะติดเชื่อมกับสังฆาฎิ
5. ปลายหูด้านขวามือขององค์พระ จะแตกเป็นหางแซงแซว
6. เส้นอังสะจะช้อนเข้าใต้รักแร้
7. จะมีเม็ดผดขึ้นอยู่ระหว่างเส้นอังสะกับเส้นสังฆาฎิ
8. ท้องขององค์พระจะมีกล้ามเนื้อเป็น ๓ ลอน
9. ปลายมือพระหัตถ์ข้างซ้ายขององค์พระจะแหลมแตกเป็นหางแซงแซว
10. พระหัตถ์ที่วางบนเข่า จะไม่มีนิ้วมือยื่นเลยลงมาให้เห็น

พระนางพญาพิษณุโลก