วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระนางพญา กรุต่างๆ

พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
พระนางพญา กรุวัดราชบูรณะ พิษณุโลก
พระนางพญา กรุสุดสวาท กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก
พระนางพญากรุวัดบ่อทองคำ จ.พิษณุโลก
พระนางพญา กรุวัดวังวารี จ.พิษณุโลก
พระนางพญา กรุวังมะสะ พิษณุโลก
พระนางพญา กรุนครไทย พิษณุโลก
พระ นางพญา กรุ วัดใหญ่ ชัยมงคล
พระ นางพญา กรุ วัดโพธิ์ ท่าเตียน
พระ นางพญา กรุ วัด ดาวเสด็จ สระบุรี
พระ นางพญา กรุ วัดสระสี่เหลี่ยม
พระ นางพญา กรุ วัดเขาสมอแครง

ประวัติ พระนางพญาพิษณุโลก

ประวัติพระนางพญา พระนางพญาพิษณุโลก

พระนางพญา หรือ พระพิมพ์นางพญา ซึ่งนิยมกันว่าเป็น ราชินีแห่งพระเครื่อง เป็นพระเครื่องที่พบอยู่ในพระเจดีย์ และบริเวณวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้างไว้ ในแผ่นจาลึกลานทองของพระครูอนุโยค วัดราชบูรณะ มีผู้คัดลอกกันไว้ว่า พระนางพญาสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา

ากการพิจารณาเนื้อดินและพุทธศิลปะของพระนางพญาแล้ว มีความเก่าถึงช่วงต้น ๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เฉพาะพิมพ์เข่าโค้งช่างในสมัยอยุธยาได้สร้างขึ้นเลียนแบบศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งเห็นได้อย่างเด่นชัด นอกจากพิมพ์นี้พิมพ์เข่าตรงยังมีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะสมัยพระเจ้าอู่ทอง ๒ จากภูมิสถานของวัดนางพญาก็อยู่ในสกุลช่างเดียวกัน

เมื่อพิจารณาถึงกษัตริย์ทุกพระองค์ที่เคยครองเมืองพิษณุโลกแล้วพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองเมืองพิษณุโลกนานที่สุด ในสมัยกรุงศรีอยุธยานับเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ มีความพรั่งพร้อมทั้งกำลังพลและกำลังทางเศรษฐกิจ

พระนางพญาคงสร้างขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๐๐๗-๒๐๒๕ ในคราวเดียวกันกับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อสร้างพระปรางค์แบบต้นสมัยอยุธยาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกและได้บูรณะพระสถูปเจดีย์ใหญ่ ฐานคล้ายเจดีย์มอญ ที่วัดราชบูรณะ ซึ่งพระสถูปเจดีย์องค์นี้ยังเป็นสง่า อยู่ริมฝั่งลำน้ำน่านจนบัดนี้

พระนางพญา เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดในบรรดาพระเนื้อดินชุดเบญจภาคี มีเนื้อสีอิฐแดงเหลือง เนื้อเขียว  เนื้อดำ จุดเด่นของเนื้อพระนางพญา คือ มวลดินประเภทเม็ดทรายที่แทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมากเรียกกันว่าเม็ดแร่ ขนาดสัณฐานของเม็ดทรายจะต้องใกล้เคียงกันทั่วองค์พระ เพราะเป็นเนื้อที่ผ่านการกรองมาแล้ว

พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง” (มือตกเข่า)

พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง” (มือตกเข่า)


สำหรับ “พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง” (มือตกเข่า) ก็เป็น “พระนางพญา”  อีกพิมพ์หนึ่งที่  “พุทธลักษณะ”โดยทั่วไปก็คือ “พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง” นั่นเองเนื่องจาก “พิธีสร้าง” รวม ทั้ง “เนื้อดิน” ที่นำมาสร้างพร้อม “พิมพ์ทรง” และ “อายุ การสร้าง” ล้วน แต่ถือกำเนิดเกิดขึ้นในยุคเดียวกันกับพิมพ์อื่น ๆ เพราะ  “ผู้สร้าง” ก็คือ   “คนเดียวกัน” ที่มีพระนามว่า “พระวิสุทธิกษัตรี” ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๙๐-๒๑๐๐ เมื่อครั้ง “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” พระสวามีทรงปกครอง เมืองพิษณุโลก
 
ด้วยเหตุนี้คุณค่า “ความนิยม” รวมทั้ง “ราคา” จึงอยู่ในระดับเดียวกันกับพิมพ์  “มือไม่ตกเข่า” เนื่องจาก “พิมพ์ทรง” ตลอด จน “ขนาด” ขององค์พระรวมทั้ง “จุดสังเกต” ก็เท่าเทียมและเหมือนกันกับพิมพ์ “มือไม่  ตกเข่า” ทุกประการจะ “แตกต่าง” ตรงที่  “มือไม่ตกเข่า” กับ “มือตกเข่า” เท่านั้น
 

ดังนั้นการชี้ “จุดสังเกต” จึงคล้ายกันแทบทุกประการดังนี้

 
๑. พระเกศ (ผม) มีทั้งตั้งตรงและเอียงเล็กน้อยส่วน พระนลาฏ (หน้าผาก) จะมีร่องรอยของการยุบตัว (เช่นเดียวกันกับพิมพ์เข่าโค้งที่เกิดจากแม่พิมพ์)
 
๒. พระพักตร์ (หน้า) ขององค์ที่พิมพ์ติดชัดจะปรากฏ พระเนตร (ตา) พระโอษฐ์ (ปาก) ให้เห็นชัดเจนกว่าพิมพ์เข่าโค้ง
 
๓. พระกรรณ (หู) ทั้งสองข้างมีลักษณะคล้ายพระจันทร์เสี้ยวและมีระยะห่างจาก พระพักตร์ (หน้า) แต่พองามและ ปลายพระกรรณ ด้านซ้ายองค์พระ  จะเชื่อมติดกับ เส้นสังฆาฏิ ตรงบริเวณ พระ อังสาซ้าย (ไหล่ซ้าย) ที่ทอดยาวลงไปยังบริเวณ พระนาภี (สะดือ)
 
๔. จะปรากฏ เส้นจีวร ที่ชัด เจนและชอนเข้าไปยัง พระกัจฉะ (รักแร้) ด้านขวามือองค์พระและบริเวณ พระอุทร (ท้อง) ด้านซ้ายมือองค์พระที่ติดกับปลาย เส้นสังฆาฏิ จะมี เนื้อเกิน เป็นข้อสังเกต
 
๕. พระเพลา (ตัก) ด้านขวาองค์พระจะเป็นเส้นเล็กเรียวมีลักษณะเป็น เส้นตรง อันเป็นที่มาของ ชื่อพิมพ์ และเป็นเส้นขนานกับ พระเพลา ด้านซ้ายที่หนาใหญ่กว่าเท่าตัว
 
๖. พระกร (มือ) ด้านขวาองค์พระ   ที่วางพาดไปบน พระชานุขวา (เข่าขวา)     จะเลยพระชานุลงไปยังด้านล่างเล็กน้อยจึง    เป็นที่มาของคำว่า “มือตกเข่า” และมี เส้นพิมพ์แตก ปรากฏบริเวณ ปลายพระบาทซ้าย (เท้าซ้าย).

คัดลอกบทความจาก
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=3666.0;wap2


วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระนางพญาพิมพ์อกนูน

พระนางพญาพิมพ์อกนูน

 “พระนางพญาพิมพ์อกนูน” ก็เป็น “พระนางพญา” อีกพิมพ์ที่มีค่านิยม สูงแต่เป็นเพราะพระพิมพ์นี้มี จำนวนน้อย มาก นักสะสมจึงให้ความนิยมรองลงมาจาก “พิมพ์เข่าตรง” แต่กระนั้นหากองค์ไหน    มีสภาพสวยสมบูรณ์ การกดพิมพ์ติดชัดเจนแล้วหากจะหามาบูชา ก็ต้อง ใช้เงินหลักล้าน เช่นกันอย่างองค์นี้ที่นำมาชี้ “จุดสังเกต” จัดเป็นองค์ที่สวยสมบูรณ์ระดับ “แชมป์” ที่พบเห็นได้ยากทีเดียว ส่วน   “พุทธลักษณะ” ของ “พิมพ์อกนูน” จะมีจุดเด่นตรงที่ “พระอุระ” (อก) จะนูนหนาใหญ่กว่าพระนางพญาทุกพิมพ์นักสะสมจึงเรียกว่า “พิมพ์อกนูน”
ตามพุทธลักษณะที่มี “อกนูน” กว่าทุกพิมพ์
 
ส่วนพุทธลักษณะอื่น ๆ ก็จะคล้ายกับพิมพ์ “เข่าโค้ง” และ “เข่าตรง” คือการประทับนั่งจะอยู่ในลักษณะของ “ปางมารวิชัย” เช่นกันและ “พระเกศ” (ผม) จะมีลักษณะคล้าย “ปลีกล้วย” โยพุทธลักษณะที่แตกต่างจากพิมพ์ “เข่าโค้ง” และ “เข่าตรง” ก็มีเช่นกันนอกจากมีอก  ที่นูนหนาใหญ่แล้ว “พระพักตร์” (หน้า) ก็จะ     มีลักษณะที่เรียวยาวกว่าคล้ายผลมะตูมและหากองค์ใดที่พิมพ์ติดชัดจะปรากฏ “พระขนง” (คิ้ว) พระเนตร (ตา) พระนาสิก (จมูก) และ “พระโอษฐ์” (ปาก) เช่นกันแต่พบเห็นน้อยมากเนื่องจากสร้างไว้จำนวนน้อยนั่นเอง

ส่วนจุดสังเกตที่ควรจำสำหรับพิมพ์นี้มีดังนี้
 
๑.พระเกศ (ผม) มีลักษณะเรียวยาวคล้ายปลีกล้วย
 
๒.เส้นครอบพระเศียร (หัว) จะมีลักษณะเป็นเส้นเรียวหนากว่าพิมพ์ เข่าโค้ง และ เข่าตรง

๓.พระกรรณ (หู) ด้านขวามือองค์พระจะมีลักษณะเป็น เส้นโค้ง ตรงปลายเล็กน้อยส่วนด้านซ้ายมือมีลักษณะเป็น เส้นตรง ที่ทอดยาวลงมาถึง พระอังสา (ไหล่)
 
๔.เส้นสังฆาฏิ ที่พาดจาก พระอังสา (ไหล่) ด้านซ้ายและทอดยาวลงไปถึง พระนาภี (สะดือ) จะเป็นเส้นหนาใหญ่กว่าพิมพ์ เข่าโค้ง และ เข่าตรง
 
๕.เส้นจีวร ที่ขนานคู่กับ เส้นสังฆาฏิ จะม้วนโค้งตรงปลายและชอนเข้าไปยังซอก พระกัจฉะ (รักแร้) ด้านขวามือองค์พระ

๖.ตรงบริเวณใต้ พระกัปปะระ (ศอก) ด้านซ้ายมือจะปรากฏมี เนื้อเกิน แทงเฉียงออกไปจดกับ พระชานุ (เข่า) ด้านซ้าย

พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก

พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก

 “พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก” จัดเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมอันดับสุดท้ายของยอด “พระกรุเนื้อดิน” แห่งตระกูล “พระนางพญา” จากเมืองพิษณุโลกที่ตามตำนานระบุว่า “พระวิสุทธิกษัตรี” (พระมารดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ทรงสร้างขึ้นแต่ถึงกระนั้นหากองค์ใดที่มีสภาพ    “สวยสมบูรณ์” และ “พิมพ์ติดชัด” อย่างองค์ที่นำมาชี้จุดสังเกตนี้แล้วก็ต้องใช้เงิน “หลายแสน” จึงมีสิทธิได้ครอบครองเนื่องจากเป็นพิมพ์ที่พบเห็นน้อยมากเรียกว่าในขบวน “พระนางพญา” ที่ถือกำเนิดจาก “กรุวัดนางพญา” ด้วย กันแล้ว “พิมพ์อกนูนเล็ก” พิมพ์นี้มีการพบเห็นน้อยกว่าพิมพ์อื่น ๆ
 
ส่วนเหตุที่เรียกว่า “พิมพ์อกนูนเล็ก” ก็เป็นเพราะพุทธลักษณะของพระพิมพ์นี้   นอกจากบริเวณ “พระอุระ” (อก) จะนูนหนาแล้วยังมีขนาดที่เล็กกว่า “พิมพ์อกนูนใหญ่” ส่วน “พระเศียร” (ศีรษะ) มีลักษณะที่ใหญ่กว่า “พิมพ์สังฆาฏิ” และ “พิมพ์เทวดา” และเพราะเนื้อบริเวณ “พระอุระ” มีความ นูนสูงนี่เองจึงทำให้การแกะแม่พิมพ์ตรง      “เส้นสังฆาฏิ” ค่อนข้างแผ่วบางตื้นอีกทั้ง  เมื่อ “พระอุระ” มีความนูนเด่นนายช่างที่แกะแม่พิมพ์จึงต้องแกะพิมพ์ให้ “พระกร” (แขน) ทั้งสองข้างล่ำหนาใหญ่ตามไปด้วย
 
ทางด้านการตัดขอบองค์พระก็มีลักษณะเป็น “รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว” เฉกเช่น “พิมพ์เทวดา” เพียงแต่ขนาดความสูงขององค์พระต่ำกว่า “พิมพ์เทวดา” เล็กน้อย   โดยนายช่างที่แกะแม่พิมพ์ได้ทำการสร้าง สรรค์ ให้องค์พระมีขนาดความหนามากกว่า    “สังฆาฏิ” และ “พิมพ์เทวดา” จึงทำให้สามารถแยกแยะพระทั้ง “๓ พิมพ์” นี้ได้อย่างชัดเจนส่วนรายละเอียดของการชี้จุดสังเกตก็แยกแยะได้ดังนี้
 
๑. พระเกศ (ผม) มีลักษณะเหมือน ทรงกระบอก
๒. พระพักตร์ (หน้า) นูนเด่นใหญ่กว่า พิมพ์สังฆาฏิ และ พิมพ์เทวดา
๓. พระกรรณ (หู) ด้านซ้ายองค์พระ   จะยาวเฉียงและ แนบ พระพักตร์ (หน้า) มากกว่า พระกรรณ (หู) ด้านซ้ายที่ยาวเชื่อมต่อกับ เส้นจีวร
๔. เส้นสังฆาฏิ ตรงบริเวณ พระอังสาซ้าย (ไหล่ซ้าย) จะยาวเลยไหล่ซ้าย
๕. เนื้อบริเวณพระอุระ (อก) นูนหนาจึงทำให้ เส้นสังฆาฏิ แผ่วบางตื้นกว่า พิมพ์สังฆาฏิ
๖. พระกร (แขน) ทั้งสองข้างและ ความหนา ขององค์พระจะหนาใหญ่กว่า พิมพ์สังฆาฏิ และ พิมพ์เทวดา.

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ

พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ
 



เป็นอีกหนึ่งของพระตระกูล “นางพญา” ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใครพร้อมกับมีขนาด ไม่ใหญ่เกินไป และ ไม่เล็กจนเกินการ พร้อมมีความเด่นของรูปทรงตรง     ที่มี “เส้นสังฆาฏิ” ที่ค่อนข้างหนาใหญ่พาดจาก “พระอังสา” (ไหล่) ผ่าน “พระอุระ” (อก) ไปถึง “พระอุทร” (ท้อง) นักสะสมในสมัยโบราณจึงตั้งชื่อพิมพ์ว่า “พิมพ์ทรงชฎา” เนื่องจากมี “เส้นพระกรรณ” (หู) ด้านบนจดกับ “เส้นครอบพระเศียร” ซึ่งดูแล้วคล้ายกับเป็นการ “สวมชฎา” และที่เรียกว่า “พิมพ์ สามเหลี่ยม” ก็เป็นเพราะการ “ตัดขอบองค์พระ” ทั้งสามด้านส่วนใหญ่ จะมีลักษณะเป็น     “สามเหลี่ยมด้านเท่า” นั่นเอง
 
แต่ปัจจุบันนักสะสมหันมานิยมเรียกว่า “พิมพ์สังฆาฏิ” ก็เป็นเพราะมี “เส้นสังฆาฏิ” ที่หนาใหญ่กว่าปกติซึ่งทั้งสามชื่อที่ใช้เรียกขานกันนั้นก็ล้วนแต่เรียกไปตาม “เอกลักษณ์” ของพิมพ์ทรงที่มีในองค์พระทั้งสิ้น
 
นอกจากนี้เอกลักษณ์สำคัญที่เป็นจุดสังเกตที่ต้องจดจำให้แม่นคือ “เส้นพระกรรณ” (หู) ด้านซ้ายมือขององค์พระจะมีความหนากว่าด้านขวา โดยปลายพระกรรณทั้งด้านบนและด้านล่างในองค์ที่พิมพ์ติดชัดจะมี “เส้นพิมพ์แตก” ที่มีลักษณะคล้ายกับเป็น “หูสองแฉก” อีกทั้งตรง บริเวณใต้ “พระศอ” (คอ) ก็จะมีเส้นพิมพ์แตก  ที่บรรดาเซียนพระเรียกว่า “เส้นเอ็นคอ” แต่  จะเป็นเพียงเส้นบาง ๆ เท่านั้น แต่เนื่องจากพระพิมพ์นี้ในองค์ที่ “ติดคมชัด” หาได้ยากมากจึงไม่ค่อยมีให้พบเห็นมากนัก
 
สำหรับเอกลักษณ์ที่เป็นจุดสังเกตของ “พิมพ์สังฆาฏิ” มีดังนี้
๑.การตัดขอบองค์พระ ทั้งสามด้านส่วนใหญ่จะเป็นแบบ สามเหลี่ยมด้านเท่า
๒.พระเกศ (ผม) มีลักษณะคล้ายกับ ปลีกล้วย
๓.เส้นครอบพระเศียร (ศีรษะ) มีลักษณะคล้ายกับ ชฎา
๔.พระนลาฏ (หน้าผาก) จะมีลักษณะคล้ายกับเนื้อบริเวณนั้นยุบตัวลง
๕.ปลายพระกรรณด้านซ้าย (ใบหูด้าน ซ้าย) จะแตกเป็นสองแฉกทั้งด้านบนและด้านล่าง
๖.เส้นสังฆาฏิ เป็นเส้นหนาใหญ่กว่าปกติ
๗.พระอังสาด้านขวาองค์พระ (ไหล่ขวา) จะมีเนื้อเกินชัดเจน
๘.พระหัตถ์ขวา (มือขวา) ที่วางพาดไปบน พระชานุขวา (เข่าขวา) มีลักษณะเป็นก้อน
๙.พระหัตถ์ซ้าย (มือซ้าย) ที่วางพาดบน พระเพลา (ตัก) มีลักษณะแอ่นโค้งเช่นกันกับ พิมพ์เข่าโค้ง.

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประวัติพระนางพญา 1

ประวัติการสร้างพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก


ในปี พ.ศ.๒๐๙๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ กองทัพพม่าซึ่งมีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ขยายอาณาเขตเข้าตีเมืองมอญ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับแดนไทย ไว้เป็นที่มั่น แล้วสั่งเกณฑ์กองทัพมาตั้งประชุมพลที่เมืองเมาะตะมะ พระเจ้าหงสาวดีได้เสด็จเป็นจอมทัพยกเข้ามารุกรานเมืองไทย หมายเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้น
ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อทราบข่าวว่ากองทัพพระเจ้าหงสาวดียกเข้ามาประชิดกรุง เสด็จยกกองทัพหลวงออกไปหวังจะลองกำลังข้าศึกดูว่าจะหนักเบาเพียงใด โดยทรงพระคชาธาร สมเด็จพระสุริโยทัย พระอัครมเหสี ได้แต่งองค์เป็นชายอย่างพระมหาอุปราช ทรงคชาสาร ตามเสด็จไปด้วยพระราเมศวรและพระมหินทร์ ราชโอรสทั้งสอง

กองทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิออกไปปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพระเจ้าหงสาวดี ไพร่พลของทั้งสองกองทัพเข้ารบพุ่งกันเป็นสามารถ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าแปรต่างทรงช้างขับไพร่พล หนุนมาพบกันเข้าก็ชนช้างกันตามแบบการยุทธในสมัยนั้น ช้างพระที่นั่งสมเด็จพะมหาจักรพรรดิเสียทีแล่นหนีช้างข้าศึกเอาไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปรขับช้างไล่มา สมเด็จพระสุริโยทัยเกรงพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จึงขับช้างทรงเข้าขวางทางข้าศึกเอาไว้ พระแปรได้ทีฟันสมเด็จพระสุริโยทัย ด้วยสำคัญว่าเป็นชาย สิ้นพระชนซบลงกับคอช้าง พอพระราเมศวรกับพระมหินทร์ทั้งสองพระองค์ขับช้างทรงเข้าต่อสู้ พระเจ้าแปรก็ถอย จึงกันเอาพระศพสมเด็จพระชนนีกลับ

การรบพุ่งในวันนั้นเป็นอันยุติไม่รู้แพ้รู้ชนะกัน แม้ว่าสมเด็จพระสุริโยทัยจักสิ้นพระชนม์ พระศพสมเด็จพระสุริโยทัยได้อันเชิญไปประดิษฐานไว้ที่สวนหลวง ตรงที่สร้างวังหลังต่อมาได้สร้างพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยที่ในสนามหลวง ตรงกับวัดเขตวัดสบสวรรค์และได้สร้างพระอารามขึ้นตรงกับพระเมรุกับได้สร้างพระมหาเจดีย์เป็นอนุสรณ์ถึงวีรกรรมของพระองค์ท่านผู้มีทั้งพระทัยกล้าหาญมั่นคงเด็ดเดี่ยว ให้อนุชนรุ่นหลังได้จดจำสืบกันต่อมา

การศึกในครั้งนั้น กองทัพของพระเจ้าหงสาวดี แม้จะมีรี้พลมากกว่าก็ไม่สามารถที่รบพุ่งหักหาญให้กรุงศรีอยุธยาแตกหักลงได้ เพียงแต่ล้อมเมืองเอาไว้เฉยๆ อยู่ไปนานเข้าเสบียงอาหารร่อยหรอลง รี้พลก็ระส่ำระส่าย ประกอบกับขณะนั้นกำลังรบทางหัวเมืองฝ่ายเหนืออันเป็นมณฑลราชธานีครั้งสมเด็จพระร่วงเจ้า ยังมีกำลังมาก อีกทั้งพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นอุปราชครองหัวเมืองเหนือทั้งปวงอยู่ที่เมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้มีใบบอกให้ยกกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือ ลงมาช่วยตีกระหนาบ ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีพอได้ข่าวกองทัพไทยในฝ่ายเหนือลงมาก็ตกพระทัย

ยกทัพกลับไปทางด้านเจดีย์สามองค์ ปี พ.ศ. ๒๑๐๖ พระมหาธรรมราชาผู้ครองเมืองพิษณุโลก ได้อภิเษกเป็นพระศรีสรรเพชญ หรือเจ้าฟ้าสองแคว ทรงอภิเษกสมรสกับพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กับสมเด็จพระสุริโยทัย ผู้ซึ้งมีเลือดเนื้อเชื้อไขเป็นนักรบอย่างแท้จริง ยอดวีรกษัตรีนั่นเอง มีพระราชโอรส๒องค์ คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้กอบกู้ชาติให้หลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น กับสมเด็จพระเอกาทศรถ และพระธิดา๑องค์ คือ พระสุพรรณกัลยา

พระมหาธรรมราชาทรงครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองพิษณุโลกสืบต่อมาเป็นเวลานาน พระองค์ทรงทะนุบำรุงเมือง ตลอดจนพระศาสนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า วัดใหญ่ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช เป็นพุทธสถานที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นวัดที่พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจตลอดมา คงจะเป็นเช่นเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบันนี้