วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง” (มือตกเข่า)

พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง” (มือตกเข่า)


สำหรับ “พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง” (มือตกเข่า) ก็เป็น “พระนางพญา”  อีกพิมพ์หนึ่งที่  “พุทธลักษณะ”โดยทั่วไปก็คือ “พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง” นั่นเองเนื่องจาก “พิธีสร้าง” รวม ทั้ง “เนื้อดิน” ที่นำมาสร้างพร้อม “พิมพ์ทรง” และ “อายุ การสร้าง” ล้วน แต่ถือกำเนิดเกิดขึ้นในยุคเดียวกันกับพิมพ์อื่น ๆ เพราะ  “ผู้สร้าง” ก็คือ   “คนเดียวกัน” ที่มีพระนามว่า “พระวิสุทธิกษัตรี” ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๙๐-๒๑๐๐ เมื่อครั้ง “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” พระสวามีทรงปกครอง เมืองพิษณุโลก
 
ด้วยเหตุนี้คุณค่า “ความนิยม” รวมทั้ง “ราคา” จึงอยู่ในระดับเดียวกันกับพิมพ์  “มือไม่ตกเข่า” เนื่องจาก “พิมพ์ทรง” ตลอด จน “ขนาด” ขององค์พระรวมทั้ง “จุดสังเกต” ก็เท่าเทียมและเหมือนกันกับพิมพ์ “มือไม่  ตกเข่า” ทุกประการจะ “แตกต่าง” ตรงที่  “มือไม่ตกเข่า” กับ “มือตกเข่า” เท่านั้น
 

ดังนั้นการชี้ “จุดสังเกต” จึงคล้ายกันแทบทุกประการดังนี้

 
๑. พระเกศ (ผม) มีทั้งตั้งตรงและเอียงเล็กน้อยส่วน พระนลาฏ (หน้าผาก) จะมีร่องรอยของการยุบตัว (เช่นเดียวกันกับพิมพ์เข่าโค้งที่เกิดจากแม่พิมพ์)
 
๒. พระพักตร์ (หน้า) ขององค์ที่พิมพ์ติดชัดจะปรากฏ พระเนตร (ตา) พระโอษฐ์ (ปาก) ให้เห็นชัดเจนกว่าพิมพ์เข่าโค้ง
 
๓. พระกรรณ (หู) ทั้งสองข้างมีลักษณะคล้ายพระจันทร์เสี้ยวและมีระยะห่างจาก พระพักตร์ (หน้า) แต่พองามและ ปลายพระกรรณ ด้านซ้ายองค์พระ  จะเชื่อมติดกับ เส้นสังฆาฏิ ตรงบริเวณ พระ อังสาซ้าย (ไหล่ซ้าย) ที่ทอดยาวลงไปยังบริเวณ พระนาภี (สะดือ)
 
๔. จะปรากฏ เส้นจีวร ที่ชัด เจนและชอนเข้าไปยัง พระกัจฉะ (รักแร้) ด้านขวามือองค์พระและบริเวณ พระอุทร (ท้อง) ด้านซ้ายมือองค์พระที่ติดกับปลาย เส้นสังฆาฏิ จะมี เนื้อเกิน เป็นข้อสังเกต
 
๕. พระเพลา (ตัก) ด้านขวาองค์พระจะเป็นเส้นเล็กเรียวมีลักษณะเป็น เส้นตรง อันเป็นที่มาของ ชื่อพิมพ์ และเป็นเส้นขนานกับ พระเพลา ด้านซ้ายที่หนาใหญ่กว่าเท่าตัว
 
๖. พระกร (มือ) ด้านขวาองค์พระ   ที่วางพาดไปบน พระชานุขวา (เข่าขวา)     จะเลยพระชานุลงไปยังด้านล่างเล็กน้อยจึง    เป็นที่มาของคำว่า “มือตกเข่า” และมี เส้นพิมพ์แตก ปรากฏบริเวณ ปลายพระบาทซ้าย (เท้าซ้าย).

คัดลอกบทความจาก
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=3666.0;wap2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น